วัตถุประสงค์
เพื่อเตือนหรือแจ้งให้ทราบถึงอันตราย และวิธีการปฏิบัตรที่เหมาะสมในพื้นที่เสี่ยงอันตรายหรือต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

สีและเครื่องหมายความปลอดภัยที่ใช้ แบ่งเป็น 4 ประเภท

1.สีแดง ใช้สำหรับเครื่องหมายห้าม(PROHIBITION SIGNS)และระบบดับเพลิง(FIRE EQUIPMENT) เช่น ห้ามสูบบุหรี่ หรือถังดับเพลิง

2.สีเหลือง ใช้สำหรับเครื่องหมายเตือน(WARNING SIGNS) เช่น ระวังอันตราย ระวังเครื่องจักร

3.สีเขียว ใช้สำหรับเครื่องหมายความปลอดภัย (SAFETY CONDITION SIGNS) เช่น ห้องปฐมพยาบาล ทางหนีไฟ

4.สีฟ้า ใช้สำหรับเครื่องหมายบังคับ (MANDATARY SIGNS) เช่น ต้องสวมใส่หมวกนิรภัย ต้องสวมใส่เครื่องกรองอากาศ

รูปแบบสัญลักษณ์

1. ให้แสดงสัญลักษณ์ภาพไว้ตรงกลางของเครื่องหมายโดยไม่ทับแถบขวางสำหรับเครื่องหมายห้าม
2. ในกรณีไม่มีมีสัญลักษณ์ภาพที่เหมาะสม เพื่อสื่อความหมายที่ต้องการ ให้ใช้สัญลักษณ์อื่นที่เข้าใจได้ทั่วไปแสดงในเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยโดยใช้ร่วมกับเครื่องหมายเสริมเพื่อแสดงความหมาย

safety

ป้ายความปลอดภัย ( SAFETY )

• รูปแบบ

เป็นป้ายสะท้อนแสงที่แสดงเครื่องหมายประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย โดยกำหนดขนาด รูปแบบสีที่ใช้ทั้งสีพื้น และสีของสัญญลักษณ์ภาพตาม มาตรฐาน มอก.635 เล่ม 1-2/2529 

• คุณสมบัติ
ทำจากวัสดุอลูมิเนียม พลาสวู้ดส์ สติกเกอร์ สีมีลักษณะเป็นสีสะท้อนแสง/เรืองแสงในความมืด น้ำหนักเบา คุณภาพแข็งแรง ทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน สินค้าได้มาตรฐานสากลทั้งรูปแบบ/ขนาด/สี

• ขนาด
ขนาด 15 x 40 ซม.  /  ขนาด 30 x 45 ซม.  /  ขนาด 37.50 x 45 ซม.

บทกำหนดโทษ

บทกำหนดโทษ

1. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท

2. ผู้ใดโดยรู้หรือจงใจแจ้งข้อควมเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีป้ายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ

3. ผู้ใดไม่แจ้งรับโอนป้าย หรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบกิจการ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท ระยะเวลาการให้บริการโดยประมาณ 10 นาที ต่อรายไม่รวมขั้นตอนการตรวจสอบ สอบสวน (ถ้ามี)
การขออนุญาตติดตั้งป้ายหรือเสียภาษี

1. ให้เจ้าของป้ายหรือผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายแจ้งขนาดและยื่นภาพถ่วยหรือภาพ สเก็ตของป้ายและแผนผังบริเวณที่ติดตั้งป้ายนั้นมาพร้อมกับคำขออนุญาตติดตั้ง ป้ายหรือแบบ แสดงรายการภาษีป้ายแล้วแต่กรณีเพื่อประโยชน์ในการสำรวจตรวจสอบ

2. ในการติดตั้งป้ายต้องไม่มีลักษณะที่จะเป็นอันตราจต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน และบริเวณที่ไม่อนุญาติให้ติดตั้งป้าย ได้แก่ บริเวณคร่อมถนน หรือทางสาธารณะ วงวียน อนุสาวรีย์ สะพาน สะพานลอย คนเดินข้ามถนนเกาะกลางถนน สวนหย่อม สวนสาธารณะ ถนน ต้นไม้ และเสาไฟฟ้า ซึ่งอยู่ในที่สาธารณะ

อัตราการเสียภาษีป้าย

อัตราภาษีป้าย 

1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 3 บาท 
2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมาย คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 20 บาท
3. (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ

   (ข) ป้ายที่มีอักษรทั้งหมด หรือบางส่วนอยู่ใต้และหรืออยู่ต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 40 บาท

ป้ายเมื่อคำนวณพื้นที่จำนวนเงินภาษีไม่ถึงป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท

การชำระภาษี

• ให้เจ้าของป้ายชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
• ป้ายที่เริ่มติดตั้ง หรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้าย ตั้งแต่วันที่ติดตั้งหรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี ถ้าภาษีป้ายเกิน 3,000 บาท ขึ้นไป ผ่อนชำระเป็น 3 งวด ๆ ละเท่า ๆ กันก็ได้



การเสียภาษีป้าย

• เจ้าของป้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.๑) ภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ของทุกปี

สถานที่ติดต่อเพื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย

• ป้ายในเขตเทศบาลไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย และชำระเงินที่สำนักเทศบาล
• ป้ายนอกเขตเทศบาลไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย และชำระเงินที่ที่ว่าการอำเภอ
• ป้ายในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายและชำระเงิน ณ สำนักงานเขตและสำนักงานเขตสาขา ที่ป้ายติดตั้งอยู่

หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงและยื่นเพื่อเสียภาษี

• ทะเบียนการค้า หรือ
• หนังสือรับรอง การจดทะเบียนบริษัท

ค่าธรรมเนียม

• การขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ

ความรู้ภาษีป้าย

Download 
http://www.law.moi.go.th/120.doc

พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510